IoT ไปกับ Senses Platform ตอนที่ 4 วัดฝุ่น PM 2.5 feat.Senses Weizen

สารบัญ

Senses Weizen

Senses Weizen
Senses Weizen

หลังจากที่เปิดตัว Senses Weizen (อย่างไม่เป็นทางการ) ไปในงาน Maker Faire Bangkok 2020 ก็ถึงเวลาที่จะแสดงความสามารถของบอร์ด Senses Weizen โดยมาทำเป็น LINE Beacon โดยใช้โมดูล Bluetooth ที่อยู่ใน Chip ESP32-WROVER-B

Senses Weizen Pinout
ขาของ Senses Weizen

สำหรับคนที่ยังไม่รู้ Spec ของบอร์ด ก็สามารถดูคุณสมบัติเบื้องต้นของ Senses Weizen ที่ Link ใต้ภาพนี้

ฝุ่น PM2.5

PM2.5 คือฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เมื่อหายใจฝุ่นละอองนี้ในปริมาณที่มากเกินไปจะส่งผลกระทบทางสุขภาพในทางลบ

กระแสตื่นตัว(ตื่นตูม?) PM2.5 กลายมาเป็นประเด็นที่พูดกันทั้งบ้านทั้งเมือง บางคนก็พูดถึงผลกระทบทางสุขภาพ บางคนก็เริ่มหาสาเหตุที่แท้จริงและเสนอวิธีแก้ปัญหา แต่บางคนก็ลามไปโทษคนบางกลุ่ม เช่น เกษตรกรที่ชอบใช้วิธีเผาเพื่อจัดการผลผลิต หรือโทษรัฐบาลที่ยังไม่จัดการปัญหานี้อย่างจริงจัง

ไม่ว่าจะมีสาเหตุมาจากอะไร เราจะรู้ได้อย่างไรว่าอากาศที่เราหายใจนั้นมีฝุ่น PM2.5 มากเกินไป?

โชคดีที่ยังมีเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ขนาดเล็ก ที่มีสามารถวัดฝุ่นละอองในอากาศได้ มีชื่อว่า

PMS5003 (และ Sensor ในตระกูลเดียวกัน)

เกี่ยวกับ PMS5003

PMS5003
PMS5003

PMS5003 เป็น Sensor ขนาดเล็กที่มีหน้าที่วัดความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศ ไม่เพียงแค่วัด PM2.5 เท่านั้น ยังสามารถวัดฝุ่น 10 ไมครอนหรือแม้แต่ขนาด 1 ไมครอนได้อีกด้วย

ข้อมูลเชิงเทคนิค

ค่าที่วัดได้จาก Sensor ตัวนี้จะมีหน่วยเป็น μg/m³

Sensor ตัวนี้มีราคาประมาณ 500–700 บาท (อย่าลืมซื้อตัวเชื่อมต่อ Sensor แบบนี้ด้วย)

วัดค่าฝุ่น PM2.5 ด้วย Senses Weizen

อุปกรณ์ที่ต้องใช้

  • Senses Weizen พร้อมสายเชื่อมต่อ USB
  • PMS5003 และตัวเชื่อมต่อ
  • สายไฟเชื่อมต่อ
  • Wifi ที่เชื่อมต่อ Internet
  • ไอดี Senses Platform (สมัครฟรีก็ใช้ได้)

เตรียม Dashboard

เตรียม Dashboard ให้พร้อมสำหรับรับค่าฝุ่น PM2.5 โดยการสร้าง Gauge 1 อัน และตั้งค่าดังต่อไปนี้

คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

เชื่อมต่ออุปกรณ์

นำสายไฟ เชื่อมต่อระหว่าง Senses Weizen กับ PMS5003 ดังรูป

Senses Weizen รับ I/O ด้วยแรงดันไฟฟ้า 3.3V เพราะฉะนั้นจึงสามารถต่อได้โดยตรง

โปรแกรมลงบอร์ด

ดาวน์โหลด Source Code ที่ตัวผู้เขียนเตรียมไว้ให้สำหรับวัดค่า PM2.5 ลงบน Senses ได้ที่นี่ https://github.com/chan1sook/Senses-Weizen-PMS5003

เปิดไฟล์ที่ดาวน์โหลดด้วยโปรแกรม Arduino ก่อนที่จะทำการ Upload ขึ้นอุปกรณ์ให้ดาวน์โหลด Library ดังนี้

  • Seneses_wifi_esp32 (พิมพ์ช่องค้นหาว่า senses)
    สำหรับเชื่อมต่อ Senses Platform บน ESP32
  • ESPSoftwareSerial (พิมพ์ช่องค้นหาว่า SoftwareSerial)
    สำหรับทำให้ ESP32 สามารถใช้งาน SoftwareSerial ได้
  • PMS Library (พิมพ์ช่องค้นหาว่า PMS)
    สำหรับอ่านค่า Sensor PMS5003

จากนั้นให้ แก้ไข Source Code ดังนี้

  • *ssid : SSID Wifi
  • *passw : รหัสผ่าน Wifi
  • *userid : รหัส User Senses Platform
  • *key : Key ของอุปกรณ์จาก IoT Garage
Edit Source Code

บันทึก Source Code แล้วไปที่เมนู Tools > Board เลือกเป็นบอร์ด ESP32 Dev Module (ยังไม่มีรายชื่ออย่างเป็นทางการก็ใช้ตัวนี้ไปก่อน)

Select Board ESP32 Dev Module
ระหว่างที่รอรายชื่อบอร์ดก็ใช้ตัวนี้ไปก่อน

เสียบ Senses Weizen เข้ากับคอมพิวเตอร์ แล้วเลือก Port และคลิกปุ่ม Upload เพื่อให้อุปกรณ์ทำงาน

ผลลัพธ์ที่ได้

Dashboard Result 1
😱😱😱😱😱😱😱😱
Mockup PMS5003 with joss stick
😂😂😂😂😂😂😂😂
Dashboard Result 2
ค่าจริงๆ แถวบ้าน

หมายเหตุ

ค่า PM2.5 ที่วัดได้ (μg/m³) สามารถเทียบกับดัชนีคุณภาพสภาพอากาศได้ดังนี้

  • 0–25 μg/m³ : AQI 0–25 สีฟ้า : คุณภาพอากาศดีมาก ไม่ต้องห่วง
  • 26–37 μg/m³ : AQI 26–50 สีเขียว : คุณภาพอากาศดี ยังไม่ต้องเป็นห่วง
  • 38–50 μg/m³ : AQI 51–100 สีเหลือง : คุณภาพอากาศปกติ ระมัดระวังสำหรับผู้มีปัญหาทางสุขภาพ
  • 51–90 μg/m³ : AQI 101–200 สีส้ม : คุณภาพอากาศเริ่มแย่ ควรใส่เครื่องป้องกัน (เช่น หน้ากาก N95) ถ้าจำเป็น
  • 91 μg/m³ ขึ้นไป : AQI 201+ สีแดง : คุณภาพอากาศแย่มากๆ ควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในพื้นที่ หรือใส่เครื่องป้องกันถ้าจำเป็น

ข้อมูลจาก http://aqmthai.com/aqi_info.php

คนเราจะกลัวในสิ่งที่ไม่รู้ หรือไม่เข้าใจ

ตอนที่ 5 มาแล้ว

--

--

ณัฐวัฒน์ จันทร์สุข

สนใจในเทคโนโลยี และเกม ชอบเขียนบทความสไตล์เกรียนๆ